วัสดุอุปกรณ์

วัสดุอุปกรณ์และคุณสมบัติ


1. ดินญี่ปุ่น



2. สีน้ำมันและสีอครีลิก
      - สำหรับสีน้ำมัน


    สำหรับผสมให้ดินมีสีต่างๆ และทาสีบนชิ้นงานที่ต้องการสีจางๆ เลือกเฉพาะสีที่ใช้บ่อย เพราะปั้นหลักๆก็คืออาหาร ก็จะมีสีขาว น้ำตาลเหลืองอ่อนๆ แดง เหลือง เขียว น้ำตาลเข้ม ดำ เราสามารถผสมสีเองได้ ไม่จำเป็นต้องซื้อทุกสีที่มีขายบนแผง หาซื้อได้จากร้านขายอุปกรณ์ศิลปะและร้านขายอุปกรณ์ทำดอกไม้ประดิษฐ์จากดินญี่ปุ่น

แนะนำเบอร์สีเพื่อความสะดวกในการซื้อ                 

สี
เบอร์
สีน้ำตาลเหลือง (ใช้ทำพวกขนมปัง)
44
สีขาว
45
สีน้ำตาลแดง
2
สีน้ำตาลเข้ม
3
สีส้ม
4
สีแดง
6
สีเหลือง
9
สีเขียว
11
สีดำ
25
สีม่วงแดง
28


สีเพิ่มเติม ที่อาจจำเป็นที่จะต้องซื้อเพิ่ม

 สี
เบอร์
สีเหลือง(ซีดๆนิดหน่อย)
8
สีน้ำเงินคราม
21
สีเขียวเข้ม
31
สีเขียวอ่อน
37
สีม่วงชมพู
47
สีแดงชมพู
49










  “ สี ” อาจจะดูคล้ายๆกัน ให้สังเกต “ พื้นสี ” ค่อนข้างจะต่างกัน ถ้าหากซื้อมาหลายสีจะสะดวกในการใช้งาน และไม่ต้องผสมเองรวมทั้งยังง่ายต่อการควบคุมสีของดินในการปั้นแต่ละครั้ง หรือใครไม่อยากซื้อเยอะ แนะนำว่าควรซื้อ (แม่สี , สีดำ, สีขาว)


***มือใหม่ควรระมัดระวังสีอาจจะเลอะเสื้อผ้าได้***

>>>ป้องกันง่ายๆคือเปลี่ยนเสื้อหรือใส่ผ้ากันเปื้อน<<<

    - สำหรับสีอครีลิก




     สีอครีลิก สามารถนำมาผสมให้ดินมีสีต่างๆได้เช่นกัน จากประสบการณ์รู้สึกว่าถ้านำมาใช้แทนสีน้ำมันผสมเข้าในเนื้อดินจะต้องใช้ในปริมาณที่มาก เมื่อดินแห้งสีจะเข้มกว่าตอนปั้น และเข้มกว่าการใช้สีน้ำมันที่สำคัญสีอครีลิกนี้มีราคาแพง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของมันคือเอาไว้ทาสี เพราะคุณสมบัติของมันคือแห้งแล้วแห้งเลยไม่ละลายน้ำ นำไปใช้เพิ่มรายละเอียดให้ชิ้นงานที่ซับซ้อนได้
3. พู่กัน




   
       " พู่กัน " นั้นมีหลากหลายทั้งเล็ก จิ๋ว และเล็กปานกลาง แน่นอนว่าขนาดเล็กนี่แหละที่เหมาะกับการใช้งาน ส่วนอันใหญ่เอาไว้ทาสีเฟอร์นิเจอร์ ปลายแปรงบางอันเราอาจต้องตัดแต่งให้เหมาะกับการใช้งาน เช่นตัวอย่างในภาพพู่กันขนาดเล็กเราตัดปลายให้เรียบๆบานๆกระจายๆ เอาไว้ทาสีแบบให้มันฟุ้งๆ

       ถ้าใช้กับสีอครีลิค ให้เอาน้ำล้าง แต่ถ้าใช้กับสีน้ำมันต้องใช้น้ำมันสน ทินเนอร์เป็นต้น ดังนั้น ส่วนใหญ่เอาแปรงที่ใช้กับสีน้ำมันปาดไปมาบนทิชชู่ เหมือนใช้ทิชชู่เช็ดออก เพราะสีน้ำมันที่เราใช้ทาเป็นพวกสีน้ำตาลอ่อนซะส่วนใหญ่

4. อุปกรณ์ผ่าตัด



                    อุปกรณ์ผ่าตัด มีดังนี้
1.เข็มหมุด
2.กรรไกรเล็กปลายแหลม

3. คีมแบบต่างๆ

4. อุปกรณ์ปั้นดอกไม้จากดินญี่ปุ่น 
5. คัตเตอร์หรือใบมีดคมๆ



            นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อื่นที่ใช้ตบแต่งงานปั้นซึ่งหาได้ในครัวเรือน เช่น ฝาขวดน้ำสามารถนำมาใช้ผสมสีแทนถาดสีหรือผสมกาวเมื่อ ล้างไม่ออกก็สามารถทิ้งได้ ง่ายต่อการเก็บและประหยัดเวลาในการทำความสะอาด





          ของสำคัญอีกอย่างคือแท่งกลมๆ แบบสม่ำเสมอ เอาไว้โรล (กลิ้ง )บนดินทำให้กลายเป็นแผ่นบาง เช่น ปากกา แท่งกาว ฯลฯ (เท่าที่หาได้)


5.ยาทาเล็บแบบใส ไม้บรรทัด กาวร้อน กระดาษทราย กระชอน



- ยาทาเล็บ เมื่อเก็บไว้นานๆมันจะออกเหลืองๆพวกที่มันเคลือบเงา สารเคลือบเงาก็มีหลายแบบ ทั้งเงามาก เงาน้อย สารเคลือบแบบด้านไปเลยก็มี อันนี้ก็แล้วแต่ลักษณะการใช้งาน

- ไม้บรรทัด เอาไว้วัดสัดส่วน ตามปกติสัดส่วนของจิ๋วเราจะเป็นแบบ1:12 คือ ของจริง1ฟุตเท่ากับของจิ๋ว1นิ้ว

- กาวร้อน หรือกาวช้าง

- กระดาษทราย เอาไว้ทำพื้นผิวให้หยาบ

- กระชอน เอาไว้ทำพื้นผิวและเอาไว้กดเพื่อเอาส่วนที่มันถูกกดอีกด้านสามารถนำมาทำเป็นข้าวได้
6.กระจก กาวลาเท็กซ์ และแผ่นรอง

          - กาวลาเท็กซ์ ขวดเล็ก เราเป็นบ้าอะไรก็จำไม่ได้ เอาซะขวดเบ้อเริ่มขนาดนี้ กาวลาเท็กซ์เอาไว้ผสมกับสีหรือผสมกับดิน ใช้ตกแต่งงานปั้นของเราค่ะ
          - แผ่นรองปั้น สำหรับรองปั้นขนม ประมาณกระดาษไข กระแดะซื้อมา คือจริงๆแล้วใช้บอร์ดรองวาดรูปสีน้ำตาลเข้มๆแล้วใช้รองเวลาปั้นป้องกันการเลอะ และป้องกันโต๊ะเปื้อนชิ้นงานและช่วยให้เราไม่เปื้อน ตามโต๊ะ ถ้าเราหาบอร์ดไม่เจอไม่ทราบไปเก็บไว้ที่ไหน ถ้ากลัวว่าบอร์ดไม่เรียบหรือกลัวดินติดบอร์ด ก็เอาเจ้า


7.กระดาษไขห่อบอร์ด ภาชนะสำหรับของจิ๋ว


     
           พวกจานชามช้อนส้อม ขวดแก้ว ถาด ก็หาซื้อได้ตามจตุจักรหรือร้านขายของเล่น สำหรับใครที่อาศัยอยู่ที่ภาคเหนือใกล้จังหวัดลำปาง หาซื้อได้ที่กาดทุ่งเกวียน พวกฟอยลจากขนม หรือแผงยาก็เก็บไว้ทำที่ห่อขนมหรือถ้วยชามก็ได้

           ถ้าเราช่างสังเกต และทราบว่าอุปกรณ์และวัสดุต่างๆมีคุณสมบัติยังไงบ้าง เราก็สามารถหาทางสร้างชิ้นงานได้กว้างขึ้น รวมทั้งการสังเกตของที่เรานำมาเป็นแม่แบบว่ามีพื้นผิวก่อน ถ้าไม่แน่ใจว่ามือสะอาดรึยังให้ใช้ก้อนดินพลีชีพมานวดกับมือก่อนลงมือปั้น เนื่องจากดินพลีชีพนั้นมีคุณสมบัติจับฝุ่นหรือเศษสิ่งสกปรกที่ติดมือเราออกมา และก่อนการเริ่มปั้นชิ้นงาน ควรตัดเล็บให้สั้นเพราะป้องกันเล็บจิกบนชิ้นงานรวมทั้งทำให้การควบคุมการปั้นดีกว่าเล็บยาวอีกด้วย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น